รถยนต์พลังลม หรือ Air Car ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Motor Development International โดยหลักการทำงานพื้นฐานของรถอัดลมดังกล่าวก็คือ ภายในรถจะมีถังไฟเบอร์สามารถอัดลมเข้าไปเก็บไว้ได้ถึง 52 แกลลอน ก่อนที่จะส่งต่อให้กับเครื่องยนต์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เมื่อเติมลมจนเต็ม (ใช้เวลา 3 นาที) จะสามารถวิ่งได้เป็นระยะทาง 93 ไมล์ หรือประมาณ 150 กิโลเมตรค่ะ ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 3.26 เหรียญฯ หรือประมาณ 115 บาท ประหยัดดีจังเลยนะคะ แต่ความเร็วของรถยนต์คันนี้ก็สามารถเร่งได้สูงสุด 40 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั่นเอง
เท่าที่ดูจากคลิปวิดีโอ การอธิบายถึงเทคโนโลยีในการนำลมไปใช้ผลิตพลังงานให้กับเครื่องยนต์ไม่ค่อยมี การพูดถึงรายละเอียดสักเท่าไร ทำให้ดูแล้วไม่ค่อยน่าเชื่อถือมากนัก เนื่องจากหลักฟิสิกส์พื้นฐานทีเราเรียนรู้กันมาตั้งแต่สมัยมัธยมก็คือ เมื่อมีการส่งถ่ายพลังงานชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งมันย่อมมีการสูญเสีย พลังงานไปบางส่วน ซึ่งในที่นี้เราต้องใช้พลังงานไฟฟ้าไปสร้างพลังงานกล เพื่อบีบอัดอากาศเข้าไปในถัง หลังจากนั้นแปลงพลังงานลมที่เก็บในถังไปขับเคลื่อนเครื่องยนต์เพื่อให้ล้อรถ หมุนอีกทีหนึ่ง ไม่รู้ว่า คำตอบที่ได้มันคุ้มค่ากับประสิทธิภาพของรถที่ได้ หรือเปล่า หากเทียบกับการใช้แบตเตอรี่ และไฮโดรเจนที่อันตรายกว่า งานนี้ก็ต้องรอดูกันไป...
ล่าสุดบริษัท Tata Motors บริษัทรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย ประกาศผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานลมในการขับเคลื่อน โดยจะทยอยนำส่งเข้าสู่โชว์รูมในปี พ.ศ. 2552 รถยนต์พลังลม หรือ AirCar นี้ ใช้การปล่อยอากาศจากระบบบีบอัดอากาศด้วยความดันสูง โดยอากาศที่ปล่อยออกมาจะทำหน้าที่หมุนเพลา ทำให้รถเคลื่อนที่ไปได้ โดยการเติมอากาศ สามารถเติมได้ตามสถานีอัดอากาศด้วยราคาไม่แพง โดยความเร็วสูงสุดที่ทำได้อยู่ที่ประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถวิ่งได้ประมาณ 200 กิโลเมตรต่อการเติมอากาศหนึ่งครั้ง Tata Motors ตั้งราคา โมเดลแรกของตาต้า CityCAT ตั้งราคาไว้ประมาณ 400,000 บาทถ้ามาขายในไทยมันจะกี่บาทหนอ กำแพงภาษีประเทศเราสูงซะด้วยซิ --"
ถ้าขี้เกียจอ่านก็ ดู คลิปเอาละกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น