วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

อยากให้รู้เรื่องราวก่อนดูหนัง .....

The Day The Earth Stood Still: ประเด็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมและทางรอดของโลก

หนังเรื่องนี้ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากมาย หลายๆประเด็นที่สามารถนำมาพูดกันได้ยาวเลย เนื้อหาของหนังเรื่องนี้เป็นประเด็นร้อนที่นักสิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์กำลังสนใจและรณรงค์กันอยู่ ดังเช่นหนังสือที่ชื่อว่า "อิชมาเอล : จิตวิญญาณทัศนาจร " ของ แดเนียล ควินน์ ก็มีการพูดตรงกันหลายประเด็น ทั้งนี้สามารถหาอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือ ได้ที่ http://www.pantip.com/cafe/library/bookcase/preview/2367.html (อาจารย์จงดี มีให้ขอยืม..... ย้ำ ขอยืม) อิชมา เอล ได้นำเอาแนวคิดสำคัญๆ ทางชีววิทยามาถ่ายทอดผ่านรูปแบบของงานวรรณกรรมได้อย่างสนุกสนาน ชวนติดตาม และเข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดความสมดุลของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ล่าและเหยื่อ แนวคิดในเรื่องการวิวัฒนาการ ความหลากหลายทางชีวภาพ การพึ่งพาอาศัยกันของสิ่งมีชีิวิตในธรรมชาติ รวมถึงการโยงทฤษฎี วิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วินไปสู่การตีความในเรื่องการแก่งแย่งชิงดีและการเอาเปรียบกันในสังคม มนุษย์

ความคิดเห็นของบางคนแสดงออกแบบนี้ว่า

"ผมมีความเห็นต่างจากศาสตราจารย์ที่ได้ Noble Prize นิดหน่อยครับตรงที่...จริงๆ แล้วพวกเราไม่ได้อยู่ตรงปากเหว หรือปากวิกฤตพวกเรากำลังตกลงจากเหวแล้ว...เรา กำลัง Free fall อยู่ (We are free falling right now.) เพียงแต่เราไม่รู้ตัว และกำลัง "หลง" คิดไปว่า "เนี่ย มันไปได้ เรากำลังไปต่อได้"กระแสของบริโภคนิยม โลกาภิวัฒน์ ทุนนิยม วัตถุนิยมมาแรงมากและผู้คนที่รู้เนื้อรู้ตัวว่ากระแสนี้มันไม่รอด มันไม่ได้ทำให้เรา และโลกของเรารอด มันน้อยนิดนักมีคำพูดหนึ่ง ซึ่งผมจำไม่ได้แล้วว่าใครพูด บอกไว้ว่าEnvironmental crisis is a crisis of mind.คำพูดนี้โผล่เข้ามาในหัวผมทันทีเลยครับ ตอนที่คลาตูบอกว่า"ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่ที่ตัวคุณ"

ในหนังสือ อิชมาเอล พูดถึงประเด็นนี้ว่าโลกในทุกวันนี้ มาถึงภาวะวิกฤติแล้ว ไม่ใช่กำลังจะเกิดนะครับ ย้ำอีกครั้ง เราอยู่ในภาวะวิกฤตเสมือนหนึ่ง เรากำลังตกจากหน้าผาด้วยอัตราเร่งจากแรงโน้มถ่วง ยิ่งใกล้ถึงพื้นเราก็จะมีความเร็วในการชนสูงขึ้นหมายความว่า ยิ่งใกล้วันหายนะ ภาวะเลวร้ายจะยิ่งทวีความรุนแรง และถี่ยิ่งขึ้นไม่ว่าจะน้ำท่วม ความผิดปกติของภูมิอากาศ ขาดแคลนเชื้อเพลิง อาหาร มลพิษสิ่งเหล่านี้ไปกระตุ้นเร้า ทำให้เกิดวิกฤติทางสังคมขึ้น ทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สงครามหากมองถึงภาวะการณ์ตอนนี้ เราก็ตกจากผาด้วยความเร่งจริงๆ และคงใกล้จะโหม่งพื้นเต็มทน เพราะทุกอย่างเลวร้ายลงมากและพวกเราหลายคนก็รู้ว่าเรากำลังวิกฤติ แต่สิ่งที่เราทำคือพยายามจะเร่งแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีแต่....ดังที่ไอน์สไตน์นักวิทยาศาสตร์เอกของโลกเคยกล่าวไว้"No problem can be solved from the same level of consciousness that created it"เราจำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านระดับความตระหนักรู้ของเรา จึงจะสามารถก้าวพ้นปัญหาได้นั่นก็คือ ที่โลกถูกผลักไปสู่ความหายนะก็เพราะเราได้สร้างเทคโนโลยีที่เห็นแก่ตัวขึ้นและที่ผ่านมามนุษย์พร้อมที่จะกำจัดทำลายล้างทุกอย่างที่ไม่เอื้อต่อประโยชน์ของเผ่าพันธุ์ตนเราควรหยุดความคิดที่เราเป็น "เจ้าเหนือโลก" ควรจะหยุดความคิดที่จะเข้าไปควบคุมจัดการธรรมชาติเพราะเราทำไม่ได้.... ถึงแม้เราอยากจะทำอย่างนั้นก็ตาม แต่หายนะตอนนี้เป็นหลักฐานอย่างดีว่าเราทำไม่ได้เราควรจะเปลี่ยนความคิดของเราใหม่ว่า เราจะอยู่กับธรรมชาติอย่างไร ไม่ใช่ในฐานะผู้พิชิตที่อยากจะเอาชนะแต่เป็นหนึ่งชีวิตในหลายล้านสายพันธุ์ที่พยายามจะอยู่ร่วมกันในโลก อย่างสมดุล อย่างเท่าเทียมเราปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าเรากำลังเผชิญหน้ากับความหายนะของเผ่าพันธุ์และโลกเราต้องสูญเสียแน่นอน เรา้ต้องได้รับผลที่เราได้ทำลงไป เหมือนกับคำพูดของคลาทูที่ว่า"คุณไม่ต้องหนีหรือต่อสู้ทั้งสองอย่าง เพราะคุณไม่อาจหนีพ้นหรือเอาชนะ(ธรรมชาติ)ได้"และทางรอดของมนุษย์ อยู่ที่ว่า "เราจะเปลี่ยนทันไหม?"

น่าคิดนะ

อาจารย์จง

ไม่มีความคิดเห็น: