วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

OVER CLOCK 1

Over Clock คืออะไร
คือการนำเอาอุปกรณ์เช่น CPU ที่ออกแบบมาสำหรับให้ทำงานที่ความเร็วค่าหนึ่ง แต่นำมาใช้งานที่ความเร็วสูงกว่านั้น เช่น CPU ความเร็ว 400 MHz แต่นำมาใช้งานที่ 500 MHz แทน หรือนำเอา CPU ที่เป็นนรุ่นความเร็ว 500 MHz มาทำงานที่ความเร็ว 667 MHz อะไรทำนองนี้ครับ ภาษาที่ใช้แทนสำหรับการ Over Clock ก็เช่น 400@500 หรือ 500@667 เป็นต้น นอกจากนี้ อุปกรณ์อื่น ๆ ก็สามารถนำมา Over Clock ได้เหมือนกันนะครับ เช่น RAM ที่เป็นแบบความเร็ว 100 MHz แต่นำมาทำงานที่ความเร็ว 133 MHz รวมถึงการ Over Clock การ์ดจอด้วยครับ เช่นปกติการ์ดจอทำงานที่ความเร็ว 110 MHz แต่เราตั้งให้ทำงานที่ 120 MHz อย่างนี้เรียกว่า Over Clock เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้วนิยมทำ Over Clock กับ CPU มากกว่า

ข้อดีของการ Over Clock
ที่เห็นชัดเจนคือได้ใช้ CPU ที่มีความเร็วมากขึ้น โดยที่จ่ายเงินซื้อในราคาเท่าเดิม เช่น แทนที่จะซื้อ CPU ความเร็ว 500 MHz ก็เปลี่ยนแปลงเป็นการซื้อ CPU ที่มีความเร็ว 400 MHz มาทำ Over Clock เป็น 500 MHz ซึ่งผลที่ได้ก็คือ ได้ใช้งาน CPU ที่ความเร็วเท่ากันในราคาที่ถูกกว่า และอีกแนวทางหนึ่ง ก็คือสมมุติว่า คุณใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไปนาน ๆ แล้ว เกิดมีความรู้สึกว่าเครื่องที่ใช้งานอยู่นั้น เริ่มจะมีความเร็วช้าไปบ้าง แต่ยังไม่อยากที่จะลงทุนเปลี่ยนเครื่องหรือ Upgrade เปลี่ยน CPU ใหม่ การนำเอา CPU ตัวเดิมนั้นมาทำ Over Clock ก็เป็นทางออกอีกทางหนึ่ง ที่จะได้ความเร็วเพิ่มขึ้นมา โดยการเสียเงินน้อยที่สุดครับ นอกจากนี้ยังได้ความรู้เกี่ยวกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย

ข้อเสียของการ Over Clock
เท่าที่ทราบมาจะเป็นการลดอายุการใช้งานของ CPU ลงไป เช่นจากเดิมที่เคยออกแบบมาให้ใช้งานได้ประมาณ 15 ปี ก็อาจจะมีอายุสั้นลงมาเหลือแค่ 10 ปีเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็คงจะไม่มีใครใช้งาน CPU ได้นานขนาดนั้นหรอกครับ อีกข้อหนึ่งก็คือ เรื่องความร้อนของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะมีมากขึ้นเมื่อทำการ Over Clock เพราะว่าเหมือนกับการใช้งาน CPU แบบเกินกว่าค่าปกตินะครับ อ้อ อีกอย่างหนึ่ง เขาบอกว่า CPU ของคุณจะหมดประกันทันทีที่ทำการ Over Clock (ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันนะครับว่า จะตรวจสอบได้อย่างไร)

อันตรายจากการทำ Over Clock
ข้อควรระวังอย่างมากก็คือ ไม่ควรที่จะทำการ Over Clock มากเกินไป และต้องระวังเรื่องของการระบายความร้อนให้ดีด้วย (เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ จะสามารถดูค่าความร้อนจาก BIOS ได้โดยตรงครับ) หาก CPU ร้อนมาก ๆ ก็อาจจะเสียหายถึงขั้นพังไปเลยได้นะครับ ระวังกันให้ดีนะครับ หากใครอยากจะลอง ก็ขอให้่ใช้วิธีีค่อย ๆ เพิ่มความเร็วขึ้นไปเรื่อย ๆ ทีละขั้นครับ และตรวจสอบความร้่ิิอนของ CPU อยู่เสมออย่าให้ร้อนจนเกินไป

จะเพิ่มความเร็วของ CPU ได้อย่างไร
ความเร็วของคอมพิวเตอร์ที่เรียกกันว่ากี่ MHz มาจากตัวเลข 2 ตัวคูณกันครับ คือ FSB กับ Multiple หรือเรียกง่าย ๆ คือความถี่กับตัวคูณ นั่นเอง ปกติแล้ว CPU รุ่นเก่า ๆ เช่น Pentium 100 ถึง Pentium ll รุ่นแรก ๆ และ Celeron จะใช้ FSB เป็น 66 MHz ถ้าเป็น CPU รุ่นหลังจากนั้นมา มักจะใช้ FSB ที่ 100 MHz หรือ 133 MHz แล้วครับ ความเร็วที่ได้ก็จะมีตัวคูณกำหนดเพิ่มเข้าไปด้วย ผมยกตัวอย่างเช่น 100 MHz จะมาจาก FSB = 66 กับตัวคูณ 1.5 ครับ หรือ 133 MHz = 66 x 2 , 200 MHz = 66 x 3 , 366 MHz = 66 x 5.5 , 400 MHz = 100 x 4 , 600 MHz = 100 x 6 หรือ 667 MHz = 133 x 5 เป็นต้นดังนั้น หลักการเพิ่มความเร็วให้กับ CPU แบบง่าย ๆ ก็คือ ให้เพิ่มค่าของ FSB หรือ ตัวคูณเข้าไป เช่นจาก CPU ตัวเดิมเป็น 400 MHz ที่ 100 x 4 เราอาจจะตั้งค่าใหม่เป็น 100 x 4.5 แทนก็จะได้ความเร็ว 450 MHz ครับ แต่อย่าเพิ่งคิดว่าจะง่ายอะไรขนาดนั้น สำหรับ CPU ของ AMD เช่น K6ll , K6ll ก็อาจจะใช้วิธีนี้ได้เลยแต่หากเป็น CPU ของ Intel รุ่นหลัง ๆ จะมีการล็อคตัวคูณมาจากโรงงานไว้แล้่วเพื่อป้องกันผู้ขายหรือร้านค้านำมาทำ Over Clock แล้วลบตัวเลขความเร็วบนซิป โดยพิมพ์ตัวเลขค่าความเร็วที่สูงกว่าแทน นำมาหลอกขายลูกค้าหรือที่เรียกว่า CPU Remark ครับ ดังนั้นการ Over Clock CPU ของ Intel ก็จะไม่สามารถใช้วิธีการเพิ่มตัวคูณได้นะครับ ต้องใช้วิธีการเพิ่ม FSB อย่างเดียวเท่านั้น

2 ความคิดเห็น:

Enjoin002 กล่าวว่า...

เคยมีเพื่อนลองทำนะ มันเพิ่มขึ้นนิดนึง แต่เสี่ยงมากอ่ะ
เสียดายคอม

|\/|-|๐opri\/| กล่าวว่า...

อยากลองทำบ้าง
แต่เสียวๆ
กลัวพัง