วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

อีกมุมของการศึกษา "เด็กไทยไม่โง่" แล้วอารายล่ะที่ทำให้????

จากการปาฐกถาเรื่อง “เด็กไทยไม่โง่” เมื่อ วันที่ 26 พ.ค. ศ.น.พ.ประเวศ วะสี กล่าวว่า การศึกษาของไทยมีรูปแบบเอกนิยม คือ บีบให้ทุกคนต้องศึกษาเรื่องที่เหมือนกัน ขณะที่ธรรมชาติของมนุษย์มีความหลากหลาย มีความสนใจ และความสามารถที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อถูกบีบคั้นให้เรียนในสิ่งที่ไม่ชอบก็อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและกลายเป็นปัญหาอื่น ๆ ระบบการศึกษาแบบนี้จึงสร้างตราบาปให้กับคนทั้งชาติ ทั้งที่คนไทยไม่ได้โง่ แต่ระบบการศึกษาทำให้คนไทยโง่ เพราะต้องเรียนเรื่องที่เหมือนกัน ใครที่มีความสามารถโดดเด่นออกมาก็มักจะถูกมองว่ามีปัญหา ประเทศไทยจึงสูญเสียโอกาสในการพัฒนาหลาย ๆ ด้าน และระบบการศึกษาที่มีการแข่งขันกันด้วยการสอบและคะแนน ยังเป็นตัวทำลายศีลธรรมพื้นฐานทั้งหมด ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเป็นคน เพราะเมื่อไหร่ที่เด็กสอบไม่ได้ หรือทำคะแนนได้น้อยก็จะบอกว่าคนนี้ไม่เก่ง เด็กก็จะรู้สึกด้อยค่าลง รู้สึกไม่มีคุณค่าในตนเอง สังคมไทยในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ จึงเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ไม่รู้ว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร

ศ.น.พ.ประเวศ กล่าวต่อไปว่า เราควรเลิกสนใจเรื่องหงส์แดง หงส์ดำกันเสียที และรัฐบาลควรหันมาใส่ใจเรื่องการศึกษา ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือการปฏิรูปการศึกษาระยะที่ 2 หมายถึงปฏิรูประบบการศึกษาและปฏิรูประบบการเรียนรู้ โดยต้องดำเนินการดังนี้
  1. ลดการเรียนแบบท่องจำจากหนังสือภายในห้องเรียนให้เหลือน้อยลงที่สุด
  2. ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ วิถีชีวิต ชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด
  3. เรียนรู้จากสื่อ เช่น เอกสาร อินเทอร์เน็ต และพิพิธภัณฑ์ ซึ่งสื่อก็ต้องพัฒนาตัวเองด้วย
  4. เรียนตามความสามารถของแต่ละบุคคล ไม่ต้องเรียนเหมือนกัน
  5. มีการศึกษา วิจัยให้ลึกซึ้งขึ้น โดยการฝึกบันทึก นำเสนอในกลุ่ม ตั้งคำถามและหาคำตอบ ซึ่งการวิจัยจะทำให้เกิดกระบวนการศึกษา แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังมีการทำวิจัยจำนวนน้อย
  6. ต้องศึกษาโดยรู้จักเห็นจิตใจและมีสำนึกนึกคิดในตนเองเพราะหากเก่งโดยไม่รู้ใจตนเองก็ง่ายต่อการหลงผิด

ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กอัจฉริยะ คณะศึกษาศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กล่าวว่า จากการวิจัยพบว่าในทุกโรงเรียนและเกือบทุกชั้นเรียนมีเด็กอัจฉริยะประมาณร้อยละ 1 ของเด็กทั้งหมด ซึ่งหากมีระบบส่งเสริมสนับสนุนที่ดี เราก็น่าจะมีอัจฉริยะบุคคลระดับไอน์สไตน์ได้ แต่ระบบปัจจุบันไม่เอื้อให้เด็กฉายแววออกมา นอกจากนี้ยังพบว่ามีครูผู้สอนจำนวนหนึ่งที่เกิดความรู้สึกอิจฉาเด็ก โดยเห็นว่าในเมื่อเด็กเก่งแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมาถาม ซึ่งตรงนี้ถือว่าอันตรายอย่างยิ่ง “ขณะนี้เราได้ทำคู่มือสำรวจแววความสามารถพิเศษขึ้นมาใหม่ ซึ่งครูสามารถนำไปสำรวจแววความสามารถพิเศษในเด็กนักเรียนได้ ส่วนคู่มือที่จัดทำก่อนหน้านี้ยังไม่ใช่คู่มือในการทดสอบเด็ก แต่เป็นการรวบรวมบุคลิกลักษณะของมนุษย์ ซึ่งมีแววความสามารถต่าง ๆ จำนวน 10 แวว ไว้ให้ครูใช้สังเกตเด็กในเบื้องต้น ซึ่งมีการนำไปใช้ผิดกันมาก แต่คู่มือใหม่นี้จะทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่า” ผศ.ดร.อุษณีย์กล่าว...

2 ความคิดเห็น:

Palm IT กล่าวว่า...

น่าสนใจมากครับ
กับวิธีนี้
ที่จริง วิธีที่เราเรียนอยู่ ในวิชาแขนง
ก็ใกล้เคียงกับวิธีนี้
พอสมควรเลย

Aj. Jongdee กล่าวว่า...

อยากจะบอกว่า เราจะ ต้องเคารพ การเรียนรู้ซึ่ง กัน และ กัน เปลี่ยน แนวคิดใหม่ ในการเรียนรู้ .... มาสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยและไม่ทำให้เราโง่กันดีไหม ค้า ....

เหมือน อย่างหนังสือ ที่ครูบอกไง "Learn how to Learn ให้ความรู้ก่อนให้ความรู้"