นี่แหละอาการ CVS Computer Vision Syndrome หรือ CVS
คือกลุ่มอาการที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งมักจะเกิดอาการดังนี้ค่ะ...-
- เมื่อยล้าในลูกตา
- ปวดเบ้าตา
- มีอาการอ่อนล้าทางประสาทตา ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน รู้สึกไม่สบายตา
- ตาสู้แสงไม่ได้ ตาแห้ง แสบตา
- มีรอยดำคล้ำบริเวณตา หรือมีรอยบวมเห็นเป็นถุงใต้ตาโปนออกมา
นอกจากนี้อาจจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดไหล่ และปวดหลังอีกด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะพบในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันเป็นประจำค่ะ
สาเหตุ CVS
อาการปวดตาและแสบตาเกิดขึ้นจากการที่ตาแห้งและกล้ามเนื้อตาเกร็งตัวเนื่องจากลืมกะพริบตาเพราะมีสมาธิจดจ่ออยู่กับข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป สามารถแก้ไขได้โดยกะพริบตาบ่อยๆ เมื่อรู้สึกตัวว่าปวดตาหรือแสบตา อาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตาบ้างก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดตาและแสบตาได้เช่นกัน ส่วนอาการตามัวหรือปวดศีรษะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เมื่อพักสายตาแล้วส่วนใหญ่อาการก็จะดีขึ้นค่ะ
นอกจากนี้แสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ และการที่แสงสว่างจากหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือแสงสว่างในห้องไม่เหมาะสม ทำให้ต้องเพ่งสายตาทำงานในระยะใกล้เป็นเวลานานๆ ก็ทำให้กล้ามเนื้อตาที่ใช้ในการเพ่งมองเกิดตึงและเกร็งก็จะนำมาซึ่งอาการปวดตาและปวดศีรษะได้ค่ะ ส่วนอาการอื่นๆ มีผลจากการวางคอมพิวเตอร์ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้ต้องนั่งในท่าผิดปกติเป็นระยะเวลานาน จนเกิดปัญหากับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดที่กระดูกข้อมือ ปวดไหล่ ปวดคอ รวมถึงปวดหลังได้ค่ะ
การป้องกัน CVS คุกคาม
- วางจอคอมพิวเตอร์ให้มีระยะห่างจากระดับสายตา 20 – 24 นิ้ว และวางอยู่ระดับที่ต่ำกว่าระดับสายตา 10 – 20 องศา ซึ่งเป็นมุมในการมองคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้สบายตาที่สุด
- ปรับแสงสว่างเหมาะสม เริ่มต้นที่ความสว่างของห้องเพียงพอ ส่วนความสว่างบริเวณรอบจอและความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรปรับให้สว่างเท่าๆ กับความสว่างของห้อง เพื่อไม่ให้แสงจ้ามากเกินไป
- ใช้แผ่นกรองแสงเพื่อช่วยลดแสงสะท้อนติดที่หน้าจอ และจัดแสงภายในห้องทำงานไม่ให้มีแสงสะท้อนมาที่จอคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้แสงสว่างสะท้อนเข้าตามากกว่าปกติ และแสงสะท้อนยังทำให้หน้าจอสว่างจนมองเห็นไม่ชัดเจนจึงต้องเพ่งสายตามากเกินไปค่ะ
- ขนาดของตัวหนังสือบนหน้าจอควรจะมีขนาดประมาณ 3 เท่าของขนาดตัวหนังสือที่เล็กที่สุดที่สามารถอ่านได้จากจอคอมพิวเตอร์ในระยะเดียวกัน ส่วนสีของตัวหนังสือควรเป็นสีดำบนพื้นสีขาวค่ะ
- ฝึกนิสัยกะพริบตาอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีการคลายกล้ามเนื้อ และพักสายตาที่ใช้ในการมองใกล้โดยให้มองไปในที่ไกลๆ นานประมาณ 1-2 นาที อย่างน้อย 1-2 ครั้งทุกชั่วโมง และหยุดพักการทำงานประมาณ 5-15 นาที ทุก 1-2 ชั่วโมง
- หากสายตายาว ควรใช้แว่นสายตาชนิด Progressive lens ซึ่งมีช่วงการมองหรือจุดโฟกัสหลายระดับ โดยเฉพาะที่สำคัญคือระยะกลาง (intermediate zone) ซึ่งเป็นตำแหน่งของจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ควรเลือกเลนส์แว่นตาแบบเคลือบสารที่ป้องกันการสะท้อนเพื่อช่วยลดการสะท้อนของแสงเข้าตาค่ะ
- สำหรับปัญหาปวดคอ ปวดไหล่ และปวดหลัง นอกจากจะแก้ด้วยการจัดระดับจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมแล้ว ท่านั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องก็มีความสำคัญ โดยควรนั่งตัวตรง เอนหลังไปด้านหลังเล็กน้อย แขนทั้งสองในขณะกดแป้นพิมพ์ให้อยู่ในแนวขนานกับพื้น ส่วนเท้าควรวางราบกับพื้นค่ะ
ยังงัยก็ดูแลตัวเองกันด้วยน๊า....
3 ความคิดเห็น:
ตอนเล่นเกมส์ กับ ตอนที่ เรียน ทำม้าย เราแสบตา เมื่อยล้า สายตา ไม่เหมือนนะ เคยสงสัย บ้างไหม เอ๋ย
งืมมม
แอบมีอาการนิสนึง
สงสัยต้องหาทางมาป้องกัน
ตัดแว่นมานั่งเล่นเกมดีกว่า
ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลย
ขอบคุณมากครับ
สำหรับที่อาจารย์ตั้งข้อสังเกต
ปาล์มก็เป็นครับ
ขอเสริมว่า
งานทำได้ ๒ ชั่วโมงก็แย่แล้ว
แต่เกม ๔ ชั่วโมงก็บ่ยั่นครับ
--"
แสดงความคิดเห็น