ผู้ออกแบบ : สก๊อต ชิม มหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ และคาลวิน เฉิน มหาวิทยาลัยเพอร์ดู สหรัฐอเมริกา
ทีเซอร์ (Teaser) เป็นต้นแบบคู่มือปรุงอาหารยุคดิจิตอลที่นอกจากจะบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับสูตร อาหารต่างๆ เอาไว้ในหน่วยความจำแล้วก็ยังมีระบบ "ผลิตรสชาติ" ของเมนูที่ต้องการปรุงออกมาได้ด้วย!
ภายในตัวเครื่องติดตั้ง "ตลับเก็บรสชาติ" เอาไว้ 18 ตัวอย่าง
สามารถสั่งให้เครื่องนำมาผสมกัน พร้อมกับจัดพิมพ์ลงบนกระดาษตัวอย่างเพื่อให้ลองชิมดูว่าถูกใจหรือไม่ ถ้าถูกลิ้นก็ลงมือปรุงจริงๆ ได้เลย แต่ถ้าไม่โดนใจก็ประยุกต์สูตรได้ตามสะดวก
2.เครื่องสร้างอักษรเบรล (Haptic Reader)
ผู้ออกแบบ : เดวิด ลี และยูนา คิม มหาวิทยาลัยฮันดองโกลบอล และฮันซุก ลี มหาวิทยาลัยไคเมียง เกาหลีใต้
Haptic Reader ทำหน้าที่เป็นเครื่องสแกนตัวอักษรบนหน้าหนังสือ จากนั้นประมวลผลออกมาเป็นตัวอักษรเบรล ช่วยให้ผู้พิการทางสายตามีโอกาสเข้าถึงคลังความรู้ในโลกหนังสือมากขึ้น
วิธีการใช้งาน นำตัวเครื่องวางทับหน้าหนังสือที่ต้องการ เมื่อระบบสแกนเสร็จแล้ว พื้นผิวหน้าจอส่วนบน จะมีปุ่มนูนขึ้นมาแปรสภาพเป็นอักขระเบรล
นอกจากนั้น ยังมีระบบแปลงตัวอักษรที่สแกนเข้ามาเป็น "คำพูด" อีกด้วย
3.โน้ตบุ๊กเจาะกลุ่มผู้หญิง (Shell Laptop Concept)ออกแบบ : จอช มารัสกา และแทน ทูลิส สหรัฐอเมริกา
ต้นแบบโน้ตบุ๊ก รุ่น "Shell Laptop" พัฒนาโดยทีมงานของบริษัทไมโครซอฟท์ ยักษ์ใหญ่ธุรกิจโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบอร์ 1 ของโลก
แนวคิดหลักต้องการทลายกรอบการออกแบบ โน้ตบุ๊กเดิมๆ
มุ่งจับลูกค้ากลุ่ม "ผู้หญิง" ยุคใหม่ อายุระหว่าง 23-28 ปี นำวัสดุที่ดูแล้วมีความนุ่มนวล น่าสัมผัส เช่น ไม้และเซรามิกมาผสานเข้ากับลวดลายเรืองแสง มองแล้วน่าดึงดูดใจให้ใช้งาน
4.คอนแท็กต์เลนส์กันแดด (Contact Shades)
ผู้ออกแบบ : จิน ยองอุน, จุน เกียวลี, ยัง โฮลี สังกัดกลุ่มโคเรีย ดีไซน์ เมมเบอร์ชิพ ประเทศเกาหลีใต้
"แว่นตากันแดด" มีมาตั้งหลายปี ล่าสุด กลุ่มนักออกแบบแดนโสมจึงคิดค้น "คอนแท็กต์เลนส์" ที่มีคุณสมบัติกันแดดและรังสีอัลตราไวโอเลตขึ้นมาบ้าง
คอนแท็กต์เลนส์กันแดดที่ว่านี้มี 4 รุ่นด้วยกัน เหมาะกับสภาพอากาศ 4 ลักษณะ และมุ่งจับลูกค้ากลุ่มที่ชอบเล่นกีฬากลางแจ้ง
5.แผนที่หลากมุมมอง (Panamap)
ผู้ออกแบบ : เอียน ไวต์ บริษัท เออร์บัน แม็ปปิ้ง อิงก์ สหรัฐอเมริกา
แผนที่มาตรฐานทั่วไปทุกวันนี้ถูกระบบบอกพิกัดผ่านดาวเทียม (จีพีเอส) รวมถึงโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนชนิดมีแผนที่ในตัวแย่งหน้าที่ไปเยอะ จนใกล้กลายเป็นของตกยุค
แต่บ.เออร์บัน แม็ปปิ้ง ยังคงศรัทธาในแผนที่ เพียงแต่นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการสร้างแผนที่ไฮเทค รุ่น "Panamap" (พานาแม็ป)
เมื่อกางและขยับเปลี่ยนมุมมองแผนที่แต่ละครั้ง จะมองเห็นข้อมูลอื่นปรากฏขึ้นมาสลับกันไป อาทิ ถนนหนทาง เส้นทางเดินรถระบบขนส่งมวลชน และแนะนำย่านสำคัญๆ ในแต่ละเมือง
credit : www.yenta4.comพัณณิตา (นุ้ย)
5 ความคิดเห็น:
อ่านไป อ่านมา
ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจง่า
ขอลองไปศึกษาก่อนแล้วกัน
ถ้ามีการอธิบายรายละเอียดซักหน่อยก็ดี
อย่างนี้ซิ คือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และทำให้เกิดประโยชน์
นั่นดิ
เราว่า น่าจะมีรายละเอียดให้มากกว่านี้อีกนิด
จะได้รู้ว่าคืออะไร ยังไง
อ่านแล้วยัง งง อยู่
รายละเอียดน้อยเกินไปอ่ะนะ
อยากได้นะ
แสดงความคิดเห็น