วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เตือนผู้เล่นเฟซบุ๊คถูกหลอกโหลดโทรจัน

ไซแมนเทค พบการหลอกลวงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ด้วยการให้เปลี่ยนพาสเวิร์ด แต่ได้โทรจันมาแทน เตือนอย่าคลิกลิงค์ที่ไม่น่าไว้วางใจ…

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคาม บริษัทไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น ประกาศเตือนครั้งล่าสุด ว่า เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่สแปมเมอร์พุ่งเป้ามาที่เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ค (เครือข่ายสังคมออนไลน์) ที่ดูน่าเชื่อถือ เพื่อล่อลวงเหยื่อที่ไม่ทันระวังตัว โดยครั้งนี้เป็นคราวของเว็บไซต์เฟซบุ๊ค (www.facebook.com) นั่นเอง ฝ่ายปฏิบัติการตอบสนองภัยคุกคามของไซแมนเทคพบว่า สแปมเมอร์อาศัยความนิยมของเฟซบุ๊ค มาเป็นช่องทางในการปล่อยไวรัส Trojan.Bredolab ที่เป็นไวรัสประเภทโทรจัน ที่แพร่กระจายไปสู่วงกว้างอย่างต่อเนื่องในปีนี้

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า โทรจันตัวนี้มีความสามารถในการโหลดแอพลิเคชัน ขโมยรหัสผ่าน บ็อท รูทคิท และโปรแกรมหลอกลวงต่างๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ สแปมเมอร์ทำการหลอกลวงผู้ใช้ด้วยการส่งอีเมล์แจ้งเตือน เกี่ยวกับความผิดพลาดเรื่องของรหัสผ่านในการเข้าเฟซบุ๊ค โดยโน้มน้าวให้ผู้รับทำการเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ ด้วยการล่อลวงให้เข้าไปที่ zipไฟล์ ที่แนบมาเพื่อดูรหัสใหม่ ที่ใน zip ไฟล์ ที่ว่าจะแฝงไวรัส Trojan.Bredolab มาด้วย

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ไซแมนเทค ได้แนะนำการป้องกันภัยจากการถูกโจมตีในลักษณะนี้ ได้แก่ ก่อนจะคลิกเข้าไปที่ไหนก็ตาม ให้ระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเวลาคลิกลิงก์ที่ไม่ทราบที่มาควรจำไว้เสมอว่า ห้ามโต้ตอบกับอีเมล์ขยะ เพราะการตอบรับจะยิ่งทำให้สแปมเมอร์รู้ว่า อีเมล์ขยะที่ส่งหว่านออกไปมีผู้รับที่แท้จริง จะทำให้ได้รับอีเมล์ขยะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการคลิกลิงค์ในอีเมล์ขยะ เพื่อปฏิเสธการรับข้อความ จะยิ่งเป็นการยืนยันกับสแปมเมอร์ว่า มีคนเปิดอ่านอีเมล์ขยะ ควรลบอีกเมล์ขยะที่น่าสงสัยในทันทีโดยไม่ต้องเปิดอ่าน

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ผู้ใช้งานควรมีอีเมล์เอาไว้ใช้หลายอัน สำหรับการใช้งานประเภทต่างๆ โดยมีหนึ่งอีเมล์เอาไว้สำหรับใช้งานส่วนตัว เช่น ติดต่อกับครอบครัว และเพื่อนฝูง มีอีเมล์อีกหนึ่งอันเอาไว้รับข่าวสารต่างๆ และอีกหนึ่งอันเอาไว้สั่งซื้อของทางอินเทอร์เน็ต อีกทั้งระวังให้ดีก่อนที่จะกรอกอีเมล์แอดเดรสของคุณลงในเว็บ เพราะอีเมล์ของคุณที่โชว์อยู่บนเว็บเพจเหล่านี้ สามารถถูกอ่านได้ด้วยโปรแกรมบ็อทที่ทำหน้าที่คอยเก็บสะสมอีเมล์ตามเว็บเพจต่างๆ ทั้งนี้ติดตั้งระบบป้องกัน และต้องมั่นใจว่าโซลูชันรักษาความปลอดภัยที่คุณใช้นั้นมีการอัพเดทอยู่ตลอด เพื่อช่วยป้องกันอีเมล์ขยะ และไวรัสได้ ในขณะที่คุณสามารถรับอีเมล์อื่นได้ตามปกติ


มดเอง

1 ความคิดเห็น:

Salix_LivE กล่าวว่า...

แหะๆๆ

เราไม่เคยเปิดมันออกมาอ่านสักครั้ง

ตอนนี้ก็ พันกว่าและ